ระบบสารสนเทศในโรงพยาบาล
ระบบสารสนเทศในโรงพยาบาล เป็นการนำระบบสารสนเทศ เทคโนโลยีสารสนเทศ มาประยุกต์ใช้ในกิจการต่างๆ ของโรงพยาบาล โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้สามารถดำเนินการต่างๆ ได้อย่างถูกต้องตรงตามเป้าหมายหลักของโรงพยาบาล พร้อมทั้งสนับสนุนการตัดสินใจได้อย่างถูกต้องในทุกขั้นตอน ก่อให้เกิดการใช้ทรัพยากรอย่างเกิดประโยชน์สูงสุดประกอบด้วยระบบสารสนเทศ 2 ชนิดระบบ
1. ระบบสารสนเทศทางคลินิก(Clinical information system)
เป็นระบบการจัดการฐานข้อมูลคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ แพทย์และพยาบาลจะใช้ระบบนี้ในการเข้าถึงข้อมูลผู้ป่วยเพื่อใช้ในการวางแผนการนำไปใช้ และการประเมินการดูแลผู้ป่วย
ตัวอย่าง
ระบบสารสนเทศทางการแพทย์
1.บัททึกข้อมูลทางการพยาบาล เช่น
North American Nursing Diagnosis Association : NANDAสมาคมการวินิจฉัยทางการพยาบาลอเมริกาเหนือ
Nursing Intervention Classification : NIC ใช้ตัดสินว่าจะให้การบาบัดทางการพยาบาลให้แก่ผู้ป่วยเพื่อแก้/บรรเทาปัญหาทางสุขภาพ
Nursing Outcome Classification : NOC ระบบสารสนเทศทางการพยาบาลที่ช่วยประเมินว่าผู้ป่วยได้รับการพยาบาลที่มีคุณภาพครบถ้วนและเท่าเทียมกันทุกคน
International Classification Nursing Practice : ICNP การใช้คามาตรฐานในการวินิจฉัยทางการพยาบาล
2.มีความยืดหยุ่นในการใช้ระบบเพื่อดูข้อมูลและเก็บรวบรวมสารสนเทศที่จำเป็นทำให้มีการดูแลผู้ป่วยที่มีคุณภาพ
ระบบติดตาม (Monitor system)
1.เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการวัดทางชีวภาพแบบอัตโนมัติในหน่วยวิกฤต และหน่วยเฉพาะโรค2.รูปแบบของระบบติดตาม
การเตือนเมื่อพบสิ่งที่ผิดปกติ
1.ระบบติดตามแบบเคลื่อนที่2.การบันทึกสิ่งค้นพบที่ผิดปกติ3.สามารถถ่ายโอนข้อมูลผู้ป่วยเข้าไปสู่ระบบอื่นได้ เพื่อที่จะได้มีการบันทึกข้อมูลผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง
ระบบห้องปฏิบัติการ (Laboratory system)
1.บันทึกข้อมูลผลการตรวจต่างๆ ทางห้องปฏิบัติการ2.สามารถเข้าถึงผลการตรวจได้อย่างสะดวกและรวดเร็วขึ้น3.ช่วยลดความผิดพลาดในการายงานผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการที่เกิดจากคน ตัวอย่าง เช่น ระบบฐานข้อมูลห้องปฏิบัติการจุลชีววิทยา
ระบบรังสี (Radiology system)
1.เก็บข้อมุลเป็นภาพดิจิตอลแทนฟิล์มรังสีแบบเดิม2.สามารถเข้าถึงข้อมูลภาพทางรังสีได้อย่างรวดเร็วขึ้น3.สามารถส่งต่อภาพรังสีไปยังแหล่งอื่นๆ เพื่อส่งต่อการรักษาไปยังโรงพยาบาลอื่น ตัวอย่าง เช่น ระบบฐานข้อมูล x-ray ของโรงพยาบาลศิริราชระบบ SIPACS
ระบบเภสัชกรรม (Pharmacy system)
1.ให้ข้อมูลเกี่ยวกับยา2.สามารถเข้าถึงประวัติผู้ป่วยและการให้ยาได้ รวมทั้งประวัติการแพ้ยาและข้อมุ,ส่วนบุคคล3.ช่วยแพทยืในการตัดสินใจว่ายาตัวไหนที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด และขนาดยาที่เหมาะสมกับผู้ป่วย4.การคำนวณการใช้ยา ค่าใช้จ่ายและออกใบเสร็จรับเงิน
สมาคมการวินิจฉัยทางการพยาบาลอเมริกาเหนือ (North American Nursing Diagnosis Association : NANDA)Human Response Patterns
1. (Exchanging )แบบแผนการแลกเปลี่ยน เช่น การเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับ โภชนาการ อุณหภูมิ ขาดน้ำฯลฯ
2. ( Communicating)แบบแผนการสื่อสาร เช่นการพูดผิดปกติ
3. (Relating)แบบแผน สัมพันธภาพ เช่น การแยกตัวจากสังคม ความเครียดในบทบาท
4. (Valuing)แบบแผนค่านิยม เช่น ความเครียดทางจิตวิญญาน
5. (Choosing)แบบแผนการเลือก เช่น ไม่สามารถปรับตัวได้ ไม่สามารถเผชิญปัญหาได้
6. (Moving)แบบแผนการเคลื่อนไหว เช่น อ่อนเพลีย การนอน การเปลี่ยนแปลง การกลืนผิดปกติ
7. (Perceiving)แบบแผนการรับรู้ เช่น ความรู้สึกสิ้นหวัง การทอดทิ้ง
8. (Knowing)แบบแผนการรับรู้ เช่น รู้สึกสับสน จำไม่ได้
9. (Feeling)แบบแผนความรู้สึก เชน ความเจ็บปวด ความวิตกกังวล ความกลัว
ระบบจำแนกประเภทผลลัพธ์ทางการพยาบาล (Nursing Outcomes classification : NOC)
เป็นระบบสารสนเทศทางการพยาบาลที่ช่วยประเมินว่าผู้ป่วยได้รับการพยาบาลที่มีคุณภาพครบถ้วนและเท่าเทียมกันทุกคน ซึ่งพัฒนาโดยทีมวิจัยของมหาวิทยาลัย IOWA ตั้งแต่ปี 1991 ซึ่งพัฒนาจากฐานข้อมูลของ NANDA7 Health domain29 Outcome class260 Outcome (Indicators and Scores)7 Health domains of NOCการใช้ค่ามาตรฐานในการวินิจฉัยทางการพยาบาล (International Classification Nursing Practice : ICNP)ระบบการผสมผสานคำ สำหรับการปฏิบัติพยาบาล (การวินิจฉัย กิจกรรมการพยาบาล และผลลัพธ์การพยาบาล) ที่จะเอื้อให้เกิดการ crossmap คำต่างๆ ทางการพยาบาลในทุกระบบจำแนกที่มีอยู่และคำท้องถิ่น การแพทย์ทางไกลหรือโทรเวชกรรม (Telemedicine) cine
เป็นการนำเอาเทคโนโลยีสารสนเทศมาประยุกต์ใช้กับงานทางการแพทย์โดยการส่งสัญญาณผ่านสื่ออาจเป็นสัญญาณดาวเทียม หรือใยแก้วนำแสงควบคู่ไปกับเครือข่ายคอมพิวเตอร์
แพทย์ต้นทางกับแพทย์ปลายทางติดต่อกันด้วยภาพเคลื่อนไหวและเสียงทำให้สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลคนไข้ระหว่างกันและกัน เช่น ฟิล์มเอ็กซเรย์ คลื่นหัวใจ
ประกอบด้วยระบบย่อย 4 ระบบ คือ
ระบบประชุมทางไกล (Video Conference)
ระบบการปรึกษาแพทย์ทางไกล (Medical Consultation)
• ระบบ TeleradiologyTeleDiag คือ Teleradiology ของคนไทย ที่พัฒนาขึ้นเพื่อคนไทย เป็นระบบ Telemedicine ที่สนับสนุนงานด้านรังสีวินิจฉัย การอ่านและวินิจฉัยผลในระยะไกล จากเครื่อง x-ray computer เป็นนวัตกรรมที่พัฒนาขึ้นเพื่อเพิ่มความสามารถในการให้บริการในด้านการ วินิจฉัยสุขภาพอย่างทั่วถึง ปลอดภัย รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ เป็นผลงานการพัฒนาของ บริษัท โปรดิจิส์ จำกัด(www.prodigi.co.th)
• ระบบ Telecardiology ระบบ Telecardiology เป็นระบบการรับส่งคลื่นหัวใจ (ECG) และเสียงปอด เสียงหัวใจ โดยผ่านอุปกรณ์เชื่อมต่อมายังอุปกรณ์คอมพิวเตอร์
• ระบบ Telepathologyระบบ Telepathology เป็นระบบรับส่งภาพจากกล้องจุลทรรศน์ (Microscope) ซึ่งอาจจะเป็นภาพเนื้อเยื่อ หรือภาพใดๆ ก็ได้จากกล้องจุลทรรศน์ทั้งชนิด Monocular และ Binocular ระบบนี้เป็นอุปกรณ์เชื่อมต่อกับกล้องจุลทรรศน์ซึ่งมีอยู่ทั่วไปในโรงพยาบาลต่างๆ อยู่แล้ว
ระบบการศึกษาทางไกล (Distance Learning)
ระบบเชื่อมเครือข่ายข้อมูลและโทรศัพท์
ระบบเชื่อมเครือข่ายข้อมูลและโทรศัพท์ (Data and Voice Network) ระบบเชื่อมเครือข่ายข้อมูลเป็นระบบการใช้งานเชื่อมต่อจากโรงพยาบาลต่างๆ ซึ่งเป็นจุดติดตั้งของโครงการฯ มายังสำนักเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อให้สามารถใช้บริการทางด้านเครือข่ายข้อมูลต่างๆ คือระบบ • Internet / CD ROM Server / ฐานข้อมูลกระทรวงสาธารณสุข
ระบบแพทย์ทางไกล (Telemedicine) ระบบแพทย์ทางไกลเป็นการนำเอาความก้าวหน้าด้านการสื่อสารโทรคมนาคมมาประยุกต์ใช้กับงานทางการแพทย์ โดยการส่งสัญญาณผ่านสื่อซึ่งอาจจะเป็นสัญญาณดาวเทียม (Satellite) หรือใยแก้วนำแสง (Fiber optic)แล้วแต่กรณีควบคู่ไปกับเครือข่ายคอมพิวเตอร์ แพทย์ต้นทางและปลายทางสามารถติดต่อกันด้วยภาพเคลื่อนไหวและเสียง ทำให้สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลคนไข้ระหว่างกันได้
การจัดการด้านการปศุสัตว์ เทคโนโลยี RFID ถูกนำมาประยุกต์ใช้การจัดการด้านการปศุสัตว์ เช่นในระบบติดตาม Animal tracking เพื่อให้ทราบเจ้าของของสัตว์ และสามารถใช้ในการตรวจสอบสายพันธุ์ และการระบุข้อมูลจำเพาะของสัตว์ได้ด้วย เช่น วัน เดือน ปี เกิด น้ำหนัก และการได้รับวัคซีนหรือยา เป็นต้น
การจัดการงานห้องสมุด มีการนำเทคโนโลยี RFID มาประยุกต์ใช้กับงานในด้านต่างๆ เช่นกับงานบริการยืม – คืนหนังสือ การตรวจสอบตำแหน่งที่อยู่ของหนังสือ รวมทั้งการตรวจสอบความปลอดภัย ในกรณีที่มีการนำหนังสือออกมาจากห้องสมุดโดยมิได้ทำการยืมก่อน เป็นต้น2. ระบบสารสนเทศทางการบริหาร(Administrative information system)ตัวอย่าง
ระบบการลงทะเบียนผู้ป่วย
ระบบการเงิน
ระบบเงินเดือนและทรัพยากรมนุษย์
ระบบประกันคุณภาพ
ระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหาร
ความหมายของ Instant messagingเมสเซนเจอร์ หรือ อินสแตนท์ เมสเซจจิง (instant messaging, IM) คือระบบการส่งข้อความทันที ระหว่างสองคน หรือกลุ่มคนใน เน็ตเวิร์ก เดียวกัน เช่น การส่งข้อความผ่านทางอินเทอร์เน็ต IM อยู่ในช่วงกลางยุค 90 โดยที่ผู้คิดค้นคนแรกก็คือ ICQ ที่นำ ICQ ออกสู่ตลาดตั้งแต่ช่วงปลายปี 1996 ซึ่งดูเหมือนว่าเป็นวิธีการสื่อสารแบบใหม่ที่อาจจะทดแทนอีเมล์ไปได้เลยทีเดียว หลังจากนั้นทาง AOL ก็เริ่มออก IM ของตัวเองมาแข่งขัน จึงกลายเป็นจุดเริ่มต้นการพัฒนาอย่างจริงจังจนมาถึงในปัจจุบัน ICQ รุ่นปัจจุบันที่ใช้งานกันอยู่นั้นก็คือรุ่น 2002 ซึ่งมีของเล่นมาให้ภายในตัวมันเองมากมายทีเดียว จนถึงตอนนี้ IM จากค่ายต่างๆ ก็ต่างมีการพัฒนากันอย่างต่อเนื่อง ไม่ใช่เพียงแค่ ICQ และ AIM (จาก AOL) อีกต่อไป แต่ยังมีทั้ง MSN Messenger และ Yahoo! Messenger และ IM จากค่ายย่อยๆ อีกหลายค่ายเหมือนกันInstant messaging การทำงานของเมสเซนเจอร์จำเป็นต้องใช้ไคลเอนท์ซอฟต์แวร์ โดยซอฟต์แวร์ทำการเชื่อมต่อระบบที่บริการเมสเซนเจอร์ การส่งข้อความผ่านเมสเซนเจอร์ในยุคแรก ตัวอักษรแต่ละตัวที่ทำการพิมพ์จะปรากฏทางหน้าจอของผู้ที่ส่งข้อความด้วยทันที ในขณะเดียวกัน การลบตัวอักษรแต่ละตัว จะลบข้อความทันที ซึ่งแตกต่างกับระบบเมสเซนเจอร์ในปัจจุบัน โดยข้อมูลที่ปรากฏจะเกิดขึ้นหลังจากที่มีตกลงยอมรับส่งข้อความแล้ว ตัวอย่าง IM ที่ใช้ในปัจจุบัน
ICQ
IM จากค่ายนี้คงยังมีจุดเด่นและเป็นจุดหลักที่ทำให้ผู้ใช้ยังคงติดทั้งการใช้งานที่ง่ายมาก และบริการเสริมอื่นๆ ที่คิดอยากจะได้อะไรก็ล้วนแต่มีให้แล้วใน ICQ โดยทั้งสิ้น คงไม่น่าแปลกใจที่เป็นเช่นนั้นเพราะว่า ICQ เป็นบรรพบุรุษของ IM เลยก็ว่าได้เพราะเป็นผู้ก่อกำเนิด IM ให้เราใช้กันจนถึงทุกวันนี้ จุดเด่นของ ICQ นั้นมีอยู่หลายๆ จุดตั้งแต่เรื่องของข้อความที่หากว่าเราคุยติดต่อกันเป็นจำนวนมาก ICQ สามารถบันทึกข้อความต่างๆ ของเราเก็บเอาไว้ ทำให้เราสามารถดึงขึ้นมาใช้ในภายหลังได้อีก อย่างเช่น หากว่าวันนี้คุณต้องการค้นหาสินค้าจากบริษัทหนึ่ง แต่จำไม่ได้ว่า URL อะไรจำได้แค่เพียงว่าเคยคุยกับเพื่อนผ่านทาง ICQ ไปเมื่อเดือนก่อน ก็สามารถสั่งค้นหาได้ทันที และถ้าหากเพื่อนไม่ได้ออนไลน์อยู่ในขณะนั้นเราก็สามารถส่งข้อความแบบออฟไลน์ไปให้เขาได้อีกด้วยโดยที่ข้อความจำถูกนำไปเก็บไว้ที่เซิร์ฟเวอร์ของ ICQ และเมื่อเพื่อนคนนั้นออนไลน์อีกครั้งก็จะเห็นข้อความดังกล่าวทันที
Instant Messaging สำหรับหน่วยงานหรือองค์กรต่างๆ ที่ต้องการ นำ IM มาใช้(Open fire )สำหรับหน่วยงานหรือองค์กรที่ต้องการใช้งาน Instant Messaging เหมือนกับ MSN หรือ Yahoo Messenger ใช้เองภายในองค์กร มี opensource software มาแนะนำ คือ Openfire ของ Jive Software ซึ่งพัฒนามาจาก Jabber เป็นซอฟต์แวร์โอเพ่นซอร์ส ที่สนับสนุนโปรโตคอลการรับส่งข้อความแบบ Streaming XML Protocol มีฟังชั่นรองรับบริการต่าง ๆ เหมือนกับโปรแกรม IM ยอดนิยมทั้งหลาย ตั้งแต่การรับส่งข้อความถึงกันธรรมดา ( เรียกว่า Peer to Peer ) การสนทนากันสองต่อสอง ( Chat ) ไปจนถึงการแชทกันเป็นกลุ่ม ( Group Chat หรือ Room Chat ) โปรแกรมOpenfireประกอบไปด้วย
Open fire Server ทำหน้าที่เป็น server สำหรับให้บริหารจัดการ IM การจัดการ user, การจัดการ Gateway เป็นต้น
ตัวอย่างโปรแกรม openfire:
โปรแกรม Client ชื่อ Spark เป็นโปรแกรมสำหรับเครื่อง client หรือ user ใช้ติดต่อกัน เหมือนกับโปรแกรม MSN ที่เราคุ้นเคย เพียงแต่ feature บางอย่าง อาจจะไม่เหมือนกัน
ตัวอย่างหน้าตาโปรแกรม Spark:
เมื่อผู้ป่วยเข้ารับการรักษากับทางโรงพยาบาลในครั้งแรก ทางโรงพยาบาลจะให้ username และ password แก่ผู้ป่วย เพื่อนำไปใช้ในการเข้าlogin ใน ระบบ IM ที่ทางโรงพยาบาลได้พัฒนาไว้ นอกจากนั้นผู้ป่วยยังจะได้รับแผ่นโปรแกรมที่สามารถนำไปติดตั้งในเครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้ป่วยที่ต้องการใช้ IM หรือผู้ป่วยสามารถดาวน์โหลดได้จากเว็บไซต์ของทางโรงพยาบาลได้อีกช่องทางหนึ่ง
หรือถ้าไม่ได้เป็นผู้ป่วยของทางโรงพยาบาลก็สามารถเข้าไปในเว็บไซต์ของโรงพยาบาลเพื่อสมัครสมาชิกของโรงพยาบาล แล้วจะได้ Username กับ Password และสามารถดาว์นโหลดโปรแกรม IM ของทางโรงพยาบาลได้เหมือนกัน
ในกรณีถ้าผู้ป่วยรายใดมีความประสงค์ที่จะต้องการนัดกับทางแพทย์ล่วงหน้า ก็สามารถ login username password ที่ทางโรงพยาบาลให้ไว้
เมื่อผู้ป่วยloginเข้ามาในระบบแล้ว ทางโรงพยาบาลมี Robot ที่ค่อยรับการติดต่อสื่อสารกับทางผู้ป่วย
โดยทางRobotจะสอบถามรายละเอียดของตัวผู้ป่วยที่ต้องการจะนัดกับทางแพทย์ โดยจะมีรายละเอียดที่สำคัญในการสอบถามคือ
- ชื่อ นามสกุล
- เพศ
- ผู้ป่วยต้องการตรวจกับแพทย์สาขาใด
- วัน เวลาที่สะดวก
- อาการป่วยเบื้องต้นของผู้ป่วย
หลังจากนั้น ทางRobotจะเข้าไปที่ระบบโรงพยาบาล เพื่อเข้าไปตรวจสอบแพทย์ที่ตรงกับสาขาที่ผู้ป่วยต้องการว่ามีแพทย์ท่านใดบ้าง และมีเวลาที่ว่างเวลาใด ตรงกับกับความต้องการของผู้ป่วยหรือไม่
หลังจากที่Robotได้ตรวจสอบข้อมูลที่กำหนดไว้แล้ว ก็สามารถกลับไปตอบผู้ป่วยได้ว่า ผู้ป่วยจะต้องเข้ามารับการรักษาเวลาใด วันไหน และแพทย์ที่รับการรักษาคือแพทย์ท่านใด
นอกจากจะสามารถพูดคุยกับผู้ป่วยที่ต้องการนัดเพื่อรับการรักษาจากแพทย์ ทางระบบIMยังสามารถติดต่อกับแพทย์ที่ต้องการทราบข้อมูลวัน เวลา ชื่อ นามสกุล อาการเบื้องต้นของผู้ป่วยที่ต้องการเข้ารับการรักษากับแพทย์อีกด้วย โดยทางโรงพยาบาลได้ให้ usename และpassword แก่ทางแพทย์ด้วย แพทย์ยังสามารถตรวจสอบการเข้าประชุมทั้งในและนอกสถานที่ได้
ตัวอย่าง Software HIS
Hospital Information System (HIS) ของโรงพยาบาลสาธิต
เป็นโปรแกรมที่พัฒนาขึ้นเพื่ออำนวยความสะดวกในการให้บริการรักษาพยาบาลในโรงพยาบาลชุมชน และ/หรือโรงพยาบาลทั่วไปในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข
เพื่อให้โรงพยาบาลเหล่านี้ได้มีทางเลือกในการใช้โปรแกรมมากขึ้น HIS พัฒนาโดยใช้ Data set มาตรฐานเดิมซึ่งเคยได้ออกแบบไว้แล้ว(เล่มสีเขียว) โดยใช้ Visual Fox Pro Version 3.0 เพื่อให้ใช้ได้กับทุก Windows environment ทั้งแบบ Client-Server และ Stanalone สามารถเลือกได้ว่าจะใช้ Database เป็น SQL Anywhere5.0 หรือ MS SQL Server6.5 ขึ้นไป
โปรแกรมตัวอย่าง ได้แก่ Database SQL Server7.0
การใช้งานHIS เป็นโปรแกรมที่มีขนาดไม่ใหญ่มากนัก พัฒนาขึ้นเพื่อให้ผู้ใช้ได้กำหนดองค์ประกอบของโปรแกรมได้เอง ประกอบไปด้วยระบบงานย่อยดังนี้
ระบบงานห้องบัตร
ระบบงานห้องตรวจโรค
ระบบงานจุดจ่ายยา
ระบบงานห้องเก็บเงินผู้ป่วย
ระบบงานจุดลงทะเบียนผู้ป่วยใน
ระบบรายงาน
ระบบการติดตามสอบถามข้อมูลผู้ป่วย
ระบบโรงพยาบาล (HIS)
UNIX ประกอบด้วย ระบบผู้ป่วยใน, ระบบห้องผ่าตัด, ระบบห้องคลอด, ระบบห้องปฏิบัติการ, ระบบเวชระเบียนผู้ป่วยในระบบการเงินผู้ป่วยนอกและระบบการเงินผู้ป่วยใน ระบบสั่งอาหาร On Line
Windows ประกอบด้วย ระบบเวชระเบียน, ระบบผู้ป่วยนอก,ระบบนัดหมาย, ระบบการเงินผู้ป่วยนอก, ระบบการเงินผู้ป่วยใน
โปรแกรม Med-Tark ซึ่งมีระบบเวชระเบียน ระบบห้องยา ระบบการเงิน ส่วนโปรแกรมสำนักงาน(back office)ที่มีใช้ช่วยในงานบริการ เช่น โปรแกรมการเงินการบัญชี โปรแกรมเงินเดือน โปรแกรมพัสดุ โปรแกรมครุภัณฑ์ เป็นต้น พัฒนาจากโปรแกรม Visual FoxPro
ระบบคอมพิวเตอร์ MED-TRAK
ระบบเวชระเบียน
ระบบห้องตรวจ ระบบนัดหมาย
ระบบเภสัชกรรม ระบบการเงิน
ระบบ ANC ระบบ Wellbaby ระบบการตรวจเยี่ยมบ้าน
ฮอสเอกซ์พี (HOSxP) เป็น ซอฟต์แวร์แอปพลิเคชัน สำหรับสถานพยาบาล สถานีอนามัย และโรงพยาบาล พัฒนาโดยบุคลากรที่อาสาสมัครมาจากหลายโรงพยาบาล มีเป้าหมายที่จะพัฒนาระบบสารสนเทศ ที่มีประสิทธิภาพสูง สามารถนำไปใช้งานได้จริงทั้งในระดับสถานีอนามัย ไปจนถึงโรงพยาบาลศูนย์ เริ่มพัฒนาเมื่อปี พ.ศ. 2542 ปัจจุบันถูกใช้ในโรงพยาบาลทั่วประเทศไทย มากกว่า 150 แห่ง
(iMed) คือ ซอฟต์แวร์แอปพลิเคชัน สำหรับสถานพยาบาล สถานีอนามัย และโรงพยาบาล เพื่อใช้ในการให้บริการผู้ป่วยในระบบงานส่วนหน้า (Front office) ของสถานพยาบาล ซึ่งครอบคลุมการให้บริการผู้ป่วยตั้งแต่เริ่มต้นจนสิ้นสุดกระบวนการ โดยมุ่งเน้นในการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของผู้ใช้งาน และพัฒนาคุณภาพในการให้บริการผู้ป่วย iMed™ ถูกออกแบบและพัฒนาโดย บริษัท อินเตอร์เนชั่นแนล เมดิคัล ซอฟต์แวร์ จำกัด ซึ่งเป็นทีมพัฒนาเดิมของทีมพัฒนาระบบสารสนเทศสำหรับโรงพยาบาลขนาดเล็ก Hospital OS ซึ่งได้รับทุนสนับสนุนจาก สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว] และเครือข่ายวิจัยสุขภาพ มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ (มสช) โดยได้รับการยอมรับและมีการใช้งานกันอย่างกว้างขวางกว่า 60 สถานพยาบาลทั่วประเทศ เพื่อขยายขอบเขตในการตอบสนองความต้องการของสถานพยาบาลทุกขนาด ทั้งภาครัฐและเอกชน คณะผู้พัฒนาจึงได้พัฒนาโปรแกรม iMed™ ขึ้น โดยมีจุดเด่นในการตอบสนองความต้องการของผู้ใช้งานได้อย่างครบถ้วน และยังคงแนวคิดของการถ่ายทอดเทคโนโลยีและการใช้ลิขสิทธิ์แบบเปิดไว้ (Technology Transfer and Open Source Concept) พร้อมทั้งให้ source code ซึ่งจะเป็นสิ่งที่สถานพยาบาลจะได้รับประโยชน์อย่างสูงในการลงทุนด้านเทคโนโลยีสารสนเทศใน
(Medico) โปรแกรมคอมพิวเตอร์การบริการทางการแพทย์ ซึ่งเป็นสถาปัตยกรรมระบบคอมพิวเตอร์ที่เรียกว่า Fully 3 tiers: WEB SERVICES
เหมาะสำหรับโรงพยาบาลขนาดกลางและใหญ่ เชื่อมโยงกับแหล่งฐานข้อมูลอื่นผ่าน XML และ Internet เชื่อมต่อโปรแกรมสำเร็จรูปอื่น ๆ ได้
มีความแข็งแรงรองรับการให้การบริการจำนวนมาก ได้อย่างน้อย 1,000 รายต่อวัน หรือ 300 รายต่อชั่วโมง
มีระบบรักษาความปลอดภัยภายใน Intranet ถึงระดับ Hardware ของเครื่องลูกข่ายอีกด้วย
มีระบบงานคอมพิวเตอร์ของโรงพยาบาลสาขา PCU และคลินิกโดยสามารถเชื่อมต่อฐานข้อมูลกันได้ ทำให้สามารถช่วยฝ่ายบริหารวางแผน โดยประเมินประสิทธิภาพแยกตามแผนก บุคคลหน่วยงาน ได้อย่างละเอียด
(MIMS:Hospital Information Management System) คือ ระบบ งานการบริหารโรงพยาบาลที่ได้รับการออกแบบและพัฒนาขึ้นโดยผู้เชี่ยวชาญด้านระบบงานคอม พิวเตอร์และระบบโรงพยาบาล เพื่อตอบสนองความต้องการขององค์กรที่ต้องการระบบงานที่ช่วย ในการบริหารจัดการให้เป็นไปอย่างรวดเร็ว, เที่ยงตรง, แม่นยำ หลีกเลี่ยงการทำงานที่ซ้ำซ้อน โดย เน้นให้ทุกฝ่ายในองค์กรใช้ฐานข้อมูลที่มีการ Access ในลักษณะ Real Time ร่วมกัน ทำให้ Output ของระบบหนึ่งจะกลายเป็น Input ของอีกระบบหนึ่งโดยไม่ต้อง Re-Key ข้อมูลใหม่ ส่งผลให้เพิ่มขีดความสามารถในการ ตรวจสอบ, จัดการ, ติดตามและรายงานข้อมูลที่เกิดขึ้นจาก ทุกฝ่ายในองค์กร ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลของผู้ป่วย, แพทย์, ยา, เวชภัณฑ์, การตรวจรักษา, พัสดุ, การเงิน, บัญชี ฯลฯ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยลดค่าใช้จ่ายและเพิ่มรายได้อีกทั้งเลือกพัฒนา บนเครื่อง IBM AS/400e Series ที่มี Technology ที่ทันสมัยเหมาะกับการทำงานแบบ Interactive ที่เป็น Multi User, Multi Tasking อย่างยอดเยี่ยม
เอกสารอ้างอิง
“IM for Your Local Network” ,Shekhar Govindarajan ,PCQuest.
“Jabber User Guide” ,Jabber Software Foundation. 2004-01-29
http://www.cisco.com/web/TH/technology/instant_messaging.htmlค้นคว้าเมื่อวันที่ 29 มิ.ย. 2551.
http://th.wikipedia.org/wiki/ค้นคว้าเมื่อวันที่ 29 มิ.ย. 2551.
http://gotoknow.org/blog/hunnan/94035ค้นคว้าเมื่อวันที่ 29 มิ.ย. 2551.
http://www.ns.mahidol.ac.th/nsid204/lesson05/L05_his.pdf โดยอาจารย์ ดร.วรวรรณ วาณิชย์เจริญชัยค้นคว้าเมื่อวันที่ 29 ก.ค. 2551.
งานโครงการนักศึกษา สำหรับบุคคลทั่วไป (ที่ปรึกษาวัยรุ่นอัจฉริยะด้านการศึกษาต่อต่างประเทศ)นางสาวช่อเพชร มหาเพชร,นายธนภัทร จามพฤกษ์ 2548